Accessibility help

เมนูหลัก

"แม่วัยรุ่น" ความท้าทายของสังคมไทย

"แม่วัยรุ่น" ความท้าทายของสังคมไทย


โดย พญ.เบญจพร ปัญญายง
กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต



สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไทย อายุ ๑๕ – ๑๙ ปี

          1.อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พบที่จังหวัดนครนายกเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ จังหวัดตาก ระยอง และชลบุรี ตามลำดับ

          2.วัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ป้องกัน มีการตั้งครรภ์ ซึ่ง จะพบภาวะที่ตามมาจากการตั้งครรภ์ คือ มีการแท้ง(ซึ่งมีทั้งทำแท้ง และแท้งเอง) การที่ทารกตายในครรภ์ และคลอด

          3.การคลอดในแม่วัยรุ่น อายุ10-19 ปี นับแต่ปี 47-53 มีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี ในทุกระดับอายุ และวัยรรุ่นมีแนวโน้มคลอดลูกเมื่ออายุน้อยลง คือ 15-17 ปี การคลอด ร้อยละ 0.6 เกิดจากการถูกข่มขืน และเด็กที่เกิดจากแม่วัยรุ่นมีน้ำหนักแรกคลอดน้อย (น้อยกว่า2500 g)

          4.วัยรุ่นครึ่งหนึ่งไม่ป้องกันการตั้งครรภ์ และมีพฤติกรรมเสี่ยง และหนึ่งในสาม ไม่ได้ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ และหนึ่งในสาม ไม่เต็มใจมีเพศสัมพันธ์


ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น คือ

          1.ด้านจิตใจ เด็กมีความรู้สึกอับอาย กลัวถูกพ่อแม่/ผู้ปกครองตำหนิ กังวลกลัวฝ่ายชายทอดทิ้ง ซึมเศร้า คิดอยากฆ่าตัวตาย

          2.ด้านสังคม ต้องหยุดเรียนกลางครัน และเข้าสู่ระบบแรงงาน ส่วนหนึ่งทิ้งเด็ก บางส่วนไปทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย บางคนเสียชีวิตจากการทำแท้ง

          ผลกระทบที่เกิดจากการที่วัยรุ่นตั้งภรรค์ ไม่พร้อม มีความคล้ายคลึงกับสถานการณ์โรคเอดส์ คือ เอดส์เป็นปัญหาจากการที่มีเพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย และการเจ็บป่วยมีผลต่อการเสียชีวิต ผู้ติดเอดส์แล้วตั้งครรภ์ ก็มีการทำแท้ง แต่กรณีวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อมแล้วทำแท้ง มีความละเอียดอ่อนในเรื่องของศีลธรรม ความรู้สึกผิดบาปเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอยู่มาก สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ วัยรุ่นปัจจุบันมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศถึงหนึ่งในสี่ คือ ประมาณ 1.25 ล้านคน และมีอัตราเด็กในกลุ่มเสี่ยงที่ตั้งครรภ์ ร้อยละ 10 ซึ่งในกลุ่มที่ตั้งครรภ์นี้มีการทำแท้งครึ่งหนึ่ง ขณะที่มีเด็กวัยรุ่นที่คลอดลูก จำนวน ประมาณ 120,000 คน/ปี ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนมาก


พฤติกรรมของวัยรุ่นที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น ได้แก่

          -เด็กวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ที่บ้านตัวเองมากที่สุด

          -มีข้อมูลว่าเด็กที่เรียนดี ดูใสสะอาด แต่พ่อแม่ไม่เอาใจใส่ โอกาสเสี่ยงสูง กว่าเด็กที่ก๋ากั่น

          -ขณะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก วัยรุ่นประมาณ ร้อยละ 34.9 ไม่ได้ป้องกันตัวเองเลย


สาเหตุการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เรียงตามลำดับได้แก่

          - ไม่ได้ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์มากที่สุด ร้อยละ 45.4

          - คุมกำเนิดไม่สม่ำเสมอ ร้อยละ 28.8

          - ขาดความรู้ในการคุมกำเนิด ร้อยละ 9

          - แพ้ยาคุมกำเนิด ร้อยละ 7.7


นโยบายสาธารณะและมาตรการในการแก้ปัญหา

          -ได้มีการนำปัญหาเข้าเวทีประชุมสมัชชาแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2551

          - มีมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ.2553 เรื่องการแก้ปัญหาวัยรุ่นไทยกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม กำหนดยุทธศาสตร์สำคัญ 2 ประการ คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ และยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อม รวมทั้งมีมาตรการระยะสั้นของ ส.ส.ส.

          ช่องว่างการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นคือ แม่วัยรุ่นขาดโอกาสเรียนต่อ และยังมีวัยรุ่นจำนวนมากที่ทำแท้งไม่ปลอดภัย ตัววัยรุ่นเองก็มีพฤติกรรมเสี่ยงคือ มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย มีความรู้เรื่องเพศศึกษาน้อย และมีความตระหนักในปัญหาต่ำ

 

นโยบายการแก้ไขปัญหา ควรดำเนินการให้ครอบคลุมกลุ่มวัยรุ่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้แก่

          - กลุ่มวัยรุ่นทั่วไป ให้การเพิ่มทักษะชีวิต /การสอนเพศศึกษา และการสื่อสารสังคมให้วัยรุ่นตระหนักในปัญหา

          - กลุ่มเสี่ยง ให้บริการปรึกษาแบบเป็นมิตรและเข้าถึงง่าย การเพิ่มมาตรการป้องกันตั้งครรภ์ในกลุ่มเสี่ยง

          - กลุ่มวัยรุ่นตั้งครรภ์ ให้บริการปรึกษาทางเลือก และการป้องกันการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย

          ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงแรงงงาน โดยมีหน่วย NGO ร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน อาทิเช่น บ้านพักฉุกเฉิน องค์กร PATH รวมทั้งเครือข่าย Networkต่างๆ

         

ในส่วนของกรมสุขภาพจิต เราได้มีบริการ

           1.การปรึกษาทางโทรศัพท์ หมายเลข 1323

           2.พัฒนาข้อมูลเรื่องนี้ในเบอร์โทร 1667

           3.พัฒนาคู่มือการให้การปรึกษาปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

           4.พัฒนารูปแบบบริการสำหรับวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อม

          บริการ ปรึกษาทางโทรศัพท์หมายเลข 1323 มีการให้บริการถึง 31 คู่สาย บริการฟรี 24 ชั่วโมง มีสหวิชาชีพเป็นผู้ให้การปรึกษา ซึ่งสามารถส่งต่อผู้ให้บริการสู่การปรึกษาแบบเผชิญหน้า ส่งปรึกษาสูตินารีแพทย์ และส่งต่อหน่วยงานเครือข่าย อาทิเช่น บริการบ้านพักฉุกเฉิน ครอบครัวอุปถัมถ์ ขณะนี้มีผู้โทรปรึกษาปัญหาทางเพศ และการท้องไม่พร้อม ประมาณเดือนละ 200 ราย


ที่มา งานเสวนา Teen Moms ความท้าทายของสังคมไทย วันที่ 18 สิงหาคม 2554 กรมสุขภาพจิต