Accessibility help

เมนูหลัก

แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย

? ? ข้อมูลทั่วไป

ชื่อองค์กร?แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย
ปรัชญา แนวคิด เพื่อเด็กพิการอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี
วันเดือนปีที่ก่อตั้ง พ.ศ. 2547

ความเป็นมา
?? แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย เกิดจากการสรุปบทเรียนการทำงานด้าน ?ความพิการและคนพิการ? ในสังคมไทยที่ผ่านมากว่าสิบปี ซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่ายังไม่ได้สร้างการเรียนรู้ให้สังคมเข้าใจ ?ความพิการ? และ ?คนพิการ? มากนัก ทัศนะสังคมต่อเรื่องนี้ ยังถือได้ว่าเป็นอุปสรรคทางสังคมวัฒนธรรมที่สำคัญในการสร้างสุขภาวะของคนพิการ และรวมถึงการสร้างสุขภาวะสังคมโดยรวมด้วย แผนงานฯ นี้เป็นแผนงานเชิงรุกที่มีกรอบแนวคิดหลักการและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ได้รับการสนับสนุนทางวิชาการและการจัดการ จากศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ทั้งนี้มีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นผู้สนับสนุนแนวคิดและงบประมาณ ทั้งยังมีเครือข่ายองค์กรคนพิการและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับ ?ความพิการ? และ ?คนพิการ? ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นภาคีเครือข่ายร่วมปฏิบัติการสู่เป้าหมาย โดย แบ่งแผนการทำงานเป็น 2 ระยะ คือระยะที่หนึ่ง พ.ศ. 2547 และระยะที่สอง พ.ศ. 2548-2551

ประเด็นสำคัญในการทำงาน
-?การสร้าง, จัดการความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความพิการและคนพิการ
-?การสร้างเสริมสุขภาวะให้สังคมวงกว้างและคนพิการสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

กลุ่มเป้าหมายที่ทำงาน

  • คนพิการ
  • ภาคีเครือข่ายองค์กรด้านคนพิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

งานที่ดำเนินการ

การดำเนินงานของแผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 ข้อ ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : สร้างเครือข่ายการเรียนรู้บนฐานการปฏิบัติการของแผนงานฯ ให้เข้มแข็ง และยั่งยืน (Networking)

กิจกรรมหลัก / ชุดโครงการที่สำคัญ

  • การพัฒนาคน/ กลไกเชิงสถาบันเพื่อสนับสนุนการทำงานเครือข่ายฯ ระยะยาว
  • สร้างเครือข่าย change agents ทำหน้าที่สร้างการเรียนรู้/ เปลี่ยนแปลงในสังคม
  • จัดกระบวนการกำกับติดตามประเมินผลการทำงานของเครือข่ายแผนงานฯ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การวิจัย หรือ การสร้างและจัดการความรู้ ด้านความพิการ คนพิการ การฟื้นฟูสมรรถภาพ การสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ และสุขภาวะคนพิการ (Research & Knowledge management)

กิจกรรมหลัก / ชุดโครงการที่สำคัญ

-?การสร้าง / จัดการความรู้

  • การพัฒนาฐานข้อมูลความรู้เพื่อการค้นคว้า / เผยแพร่ / สื่อการเรียนรู้
  • ประสบการณ์ชีวิต ศักยภาพ การรวมกลุ่มฯ การพัฒนาประชาสังคม
  • บริบทสังคม การนำเสนอภาพและพื้นที่ทางสังคมของคนพิการ
  • ชุดงานสร้างความรู้ ศาสนากับความพิการ การสร้างพลังความเข้มแข็ง
  • ชุดงานสร้างความรู้เรื่องภูมิปัญญาและทางเลือกในการดูแลคนพิการ
  • ชุดงานสร้างความรู้เรื่อง ความรุนแรงกับความพิการในสังคมไทย

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : สื่อสารในสังคมเพื่อส่งเสริมให้สังคมวงกว้าง มีความรู้ / เข้าใจ ปัญหา ความต้องการ ความคาดหวัง ความรู้สึก วิธีคิด ของคนพิการ

กิจกรรมหลัก / ชุดโครงการที่สำคัญ

-?การสื่อสารสังคม จัดกลไกการสื่อสารความรู้ในรูปแบบ จดหมายข่าว website สื่ออื่นๆ

  • ชุดงานพัฒนาระบบสื่อสารสุขภาพ เพื่อการเข้าถึงข้อมูลของคนพิการ
  • ชุดงานการสื่อสารสังคมเรื่องความพิการกับคนพิการในสังคมไทย

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : พัฒนาระบบสุขภาพ / นโยบายฟื้นฟู / สร้างสุขภาพคนพิการ

กิจกรรมหลัก / ชุดโครงการที่สำคัญ
-?ชุดพัฒนาระบบบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ปฏิบัติการเพื่อสร้างรูปธรรมการสร้างเสริมสุขภาวะคนพิการ

กิจกรรมหลัก / ชุดโครงการที่สำคัญ

-?ชุดงานพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนสำหรับคนพิการต่างๆ
-?ชุดงานปฏิบัติการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประเภทต่างๆ

งานหรือโครงการด้านครอบครัว

1.?การสร้าง ?ขุมพลัง? คือ การสร้างเครือข่ายผู้พิการประเภทต่างๆ โดยแบ่งเป็น 5 เครือข่าย ได้แก่

?? 1.1 ชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาพคนพิการทางจิต
?? 1.2
ชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาพคนหูหนวก
?? 1.3
ชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาพคนตาบอด
?? 1.4
ชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาพเด็กพิการและครอบครัว
?? 1.5
ชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาพทางกายคนพิการในสังคมไทย

2.?การสร้าง ?คลังความรู้? คือ กระบวนการค้นคว้า รวบรวม และสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับความพิการออกสู่สังคมผ่านทางงานวิจัยและงานวรรณกรรม ตลอดจนการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เช่น CD หรืองานนิทรรศการต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาดความรู้อยู่แต่ในแวดวงการศึกษาและการแพทย์ โดยแบ่งเป็น 4 หมวดหมู่ ได้แก่

?? 2.1 การจัดการความรู้ / ฐานข้อมูล
????? 2.1.1
โครงการสำรวจสถานะขององค์ความรู้ด้านความพิการ / คนพิการในสังคมไทย
????? 2.1.2 โครงการสร้างองค์ความรู้ ?Introductory Reader? สำหรับนักวิจัยด้านความพิการกับสังคม
????? 2.1.3 การพัฒนาเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับความพิการตาบอดกับการสร้างเสริมสุขภาพ

?? 2.2 ประสบการณ์ชีวิต ศักยภาพ ภูมิปัญญา ทางเลือก
????? 2.2.1?โครงการศึกษาประสบการณ์ชีวิตคนพิการทางกายและการเคลื่อนไหว
????? 2.2.2 โครงการศึกษาประสบการณ์ชีวิตครอบครัวเด็กพิการ
????? 2.2.3?ประสบการณ์ชีวิตคนพิการตาบอด

?? 2.3 บริบทสังคม การนำเสนอภาพและพื้นที่ทางสังคมของคนพิการ
????? 2.3.1
โครงการศึกษา ?ภาพสะท้อนและเรื่องเล่าความพิการของผู้พิการ?
????? 2.3.2?โครงการศึกษาภาพลักาณ์ทางสังคมของผู้พิการในสังคมไทยผ่านวรรณกรรม
????? 2.3.3?โครงการศึกษา ?แนวคิดและวาทกรรมการพัฒนาคนพิการ : การตีตราเพื่อแบ่งแยก / สร้างพลัง
????? 2.3.4?โครงการศึกษาประเด็น ?ความรุนแรงกับความพิการในสังคมไทย?
????? 2.3.5?โครงการวิจัยเจตคติคนไทยเกี่ยวกับความพิการตาบอดและคนตาบอด

?? 2.4 กระบวนการพัฒนาประชาสังคม การมีส่วนร่วม และกระบวนการนโยบาย
?????? 2.4.1 โครงการศึกษา ?นโยบายสวัสดิการสังคมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในสังคมไทย?
?????? 2.4.2?โครงการศึกษา ?สิทธิประโยชน์และการจัดการเพื่อการบังคับใช้กฎหมายด้านการแพทย์ สำหรับคนพิการ ตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูคนพิการ 2534 กับ พ.ร.บ.ประกันสุขภาพ 2545
?????? 2.4.3?โครงการวิจัยสิทธิ / โอกาสด้านสุขภาพคนตาบอดไทย
?????? 2.4.4?โครงการศึกษากระบวนการสมัชชาสุขภาพคนพิการ กับการมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะ
?????? 2.4.5?โครงการศึกษา : กรณีศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของคนหูหนวกในงาน CBR จ.นครพนม

แหล่งทุน
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ผลงานที่ภาคภูมิใจ
1.?เกิดวิธีคิดและทัศนคติใหม่ๆ เกี่ยวกับความพิการ
2.?เกิดองค์ความรู้และภูมิปัญญาในการจัดการเครือข่ายที่เอื้อประโยชน์ต่อคนพิการทุกภูมิภาค
3.?ชุมชนท้องถิ่นตระหนักรู้และเข้าใจคนพิการในชุมชนมากขึ้น
4.?เกิดจิตสาธารณะที่มีต่อคนพิการ
5.?คนที่ไม่พิการตระหนักรู้และเข้ใจถึงสภาวะความพิการ
6.?เกิดระบบจัดสรรเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างผู้พิการด้วยกันเอง
7.?เกิดการระดมและหาทุนทางสังคมที่มีอยู่ของผู้พิการมากขึ้น
8.?คนพิการเกิดความเชื่อมั่นและตระหนักถึงศักยภาพและคุณค่าของตัวเอง
9.?เกิดการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานคนพิการมากขึ้น
10.?เกิดรูปธรรมของการสร้างสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้พิการแต่ละประเภท

สิ่งที่เรียนรู้จากการทำงาน
1.?ปัญหาความพิการในครอบครัวสามารถจัดการได้ เพียงแต่ต้องการการหนุนเสริมและเชื่อมต่อกับระบบปกติ
2.?กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครอบครัว และกลุ่มครอบครัวอื่นก่อให้เกิดการรับรู้เป็นการเติมเต็ม เปิดประสบการณ์วงกว้างขึ้น ทำให้ครอบครัวเข้มแข็งขึ้น

การติดต่อ

?แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย
??? ตึกพัฒนาวิชาการ ชั้น 2
????ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรภภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
?? ?ถ.ติวานนท์ บางกระสอ
?? ?อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

?0-2951-0830, 0-2951-0735

เว็บไซต์?:?www.pikarn.com

ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ เอกสารเผยแพร่

เอกสารหรือสื่อเผยแพร่อื่น ๆ
1.1 หนังสือ
?? 1.1.1 เรื่อง ?น้อยก็หนึ่ง: แผนงานผู้พิการในสังคมไทย?
1.2 แผ่นพับ
???1.2.1 เรื่อง แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย
1.3 วีซีดี?
?? 1.3.1 เรื่อง คนพิการในสังคมไทย
?? 1.3.2 เรื่อง พูดด้วยตา ฟังด้วยใจ (วิถีชีวิตคนหูหนวก)
?? 1.3.3 เรื่อง มากกว่าที่ตาเห็น (วิถีชีวิตคนตาบอด)
?? 1.3.4 เรื่อง สายป่านของชีวิต (วิถีชีวิตของผู้บกพร่องทางจิต)
?? 1.3.5 เรื่อง น้อยก็หนึ่ง (รายงานการดำเนินงานเครือข่าย 1 ปี ของแผนงานผู้พิการในสังคมไทย)
?? 1.3.6 เรื่อง O&M (Orientation & Mobility) ประตูสู่โลกกว้างของผู้พิการทางการมองเห็น
?? 1.3.7 เรื่อง Independent Living การดำรงชีวิตอิสระของผู้พิการรุนแรงในสังคมไทย
?? 1.3.8 เรื่อง ตะวัน จันทร์ ดาว พลังจากครอบครัวเด็กพิการ

องค์กรที่อยู่ในสังกัด/เครือข่ายที่ทำงานด้านครอบครัว

(1)?กลุ่มครอบครัวเด็กพิการ จ.นครปฐม : โครงการพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ที่บ้าน โดยครอบครัว
เบอร์โทรศัพท์?081-8104276

(2)?ชมรมผู้ปกครองเด็กสมองพิการ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

(3)?กลุ่มผู้ปกครองเด็กออทิสติคกรุงเทพฯ : โครงการการฟื้นฟูเด็กนักเรียนออทิสติคผ่านกิจกรรมว่ายน้ำ

(4)?กลุ่มครอบครัวเด็กพิการ จ.นครศรีธรรมราช : โครงการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ระดับชุมชน และครอบครัว

(5)?ชมรมสานฝันปันรัก คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ : โครงการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเรียนร่วมเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิตแก่เด็กกลุ่มพิเศษ (กลุ่มบกพร่องสติปัญญา บกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิสติก)

(6)?ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำ จ.สตูล : โครงการการศึกษาวิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ โดยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Rehabilitation ? CBR) ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

(7)?ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำ จ.ปัตตานี : โครงการการศึกษาวิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ โดยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Rehabilitation ? CBR) ในจังหวัดชายแดนภาคใต้, โครงการการศึกษาแนวทางการสอน 2 ภาษาในห้องเรียนเรียนร่วม

(8)?สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และการสาธารณสุข : โครงการฟื้นฟูผู้พิการเชิงสมานฉันท์จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันเดือนปีที่ปรับแก้ข้อมูล
11 ตุลาคม 2549